วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

สาระน่ารู้เกี่ยวกับไซเรน

ไฟวับวาบ (ไซเรน)
ขอนำเสนอความรู้เล็กๆน้อยเพียงเท่าที่มีเวลาจำกัดแด่ท่านผู้อ่านเกี่ยวกับ เงื่อนไขการใช้ไฟสัญญาณวับวาบอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งเคยเขียนบทความดังกล่าวไปแล้วครั้ง ก่อน สำหรับท่านอาสาสมัครมูลนิธิฯต่างๆที่ไม่ได้ใช้รถของหน่วยงานต้นสังกัด หรือใช้รถส่วนตัวที่ ติดตั้งสัญญาณไฟดังกล่าว ถ้ายังไม่มีเหตุหรือยังไม่มีเหตุอันควรต้องใช้ ระวังจะโดนตรวจค้นใบอนุญาต ใช้ไฟฉุกเฉิน หากเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉพาะตำรวจจราจรตรวจพบถ้าไม่ใช่ราชการหรือกู้ชีพ ทางที่ดี ท่านควรรีบดำเนินการแก้ไขเบื้องต้น ดังนี้
1. ถอดเก็บ
2. ใช้ซองหุ้มไว้
3. ถ้าเป็นแบบโป๊ะที่ติดบนหลังคารถต้องหุ้มด้วยซองให้มิดชิด
4. ควรใช้สีของแสงไฟสัญญาณให้ถูกต้อง
ในการประชุมบริหารงานจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น) ได้กำชับกวดขันรถที่ ติดสัญญาณไฟวับวาบของบรรดารถอาสาสมัครกู้ภัยต่างๆ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีรถประเภทดังกล่าว มีการ ติดสัญญาณไฟวับวาบและออกมาวิ่งบนท้องถนนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการใช้สัญญาณไฟที่มีสีไม่ ถูกต้องอันที่จริงแล้วการติดตั้งอุปกรณ์สัญญาณไฟวับวาบบนรถ ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะต้องขออนุญาต จากกองบัญชาการตำรวจนครบาล ส่วนต่างจังหวัดต้องทำเรื่องขออนุญาตจากผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัด โดยรถกู้ภัยอาสาสมัครต่างๆ จะต้องใช้สัญญาณไฟสีเหลืองเท่านั้น รถดับเพลิง รถตำรวจจะใช้สัญญาณไฟสีแดง ส่วนรถพยาบาลจะใช้สัญญาณไฟสีแดงและสีน้ำเงิน รถที่ฝ่าฝืนแอบ ติดเอง ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 132 ขับรถในทางเดิน ใช้ไฟสัญญาณ
1 นิติศาสตรบัณฑิต(รามฯ), เนติบัณฑิตไทย, นิติศาสตรมหาบัณฑิต(จุฬาฯ), ทนายความรุ่นที่ 13 ,
ฝ่ายอำนวยการตำรวจ รุ่น 29
2 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ 2
มาตรา ๑๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถทุกชนิดในทางเดินรถใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ เสียง สัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีดเสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง เสียงดังเกินสมควร หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อธิบดีมีอำนาจอนุญาตให้รถฉุกเฉิน รถในราชการทหารหรือตำรวจหรือรถอื่นใช้ไฟสัญญาณ วับวาบหรือใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นได้ในการนี้อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขใน การใช้ไฟสัญญาณหรือเสียงสัญญาณรวมทั้งกำหนดเครื่องหมายที่แสดงถึงลักษณะของรถดังกล่าวด้วยก็ ได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๕๐ ผู้ใด
(๒) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท....
มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง...ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท
ลักษณะ ๗
รถฉุกเฉิน
มาตรา ๗๕ ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้
(๑) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดี กำหนดไว้
(๒) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด
(๓) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้
(๔) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใดๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของ รถให้ช้าลงตามสมควร
(๕) ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้
ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
มาตรา ๗๖ เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดี กำหนดไว้ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 3
แสงวับวาบโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท นอกจากนี้หากมีการใช้สัญญาณเสียง ไซเรน ก็จะมีความผิดกรณีการใช้เสียงไซเรน ก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาทด้วยเช่นกัน
(๑) สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือ ไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด
(๒) สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้ายหรือในกรณีที่มีช่องเดินรถ ประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
(๓) สำหรับผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก
ในการปฏิบัติตาม (๒) และ (๓) ผู้ขับขี่และผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะ กระทำได้และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๖...ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องผู้เขียนจึงขอยกข้อกำหนดกรมตำรวจเรื่อง กำหนด เงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นและเครื่องหมาย แสดงลักษณะของรถฉุกเฉินให้ท่านผู้อ่านได้รู้อย่างแจ่มแจ้ง หากทำผิดพลาดไปจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง และแนะนำให้ผู้อื่นได้มีความรู้สืบทอดกันไป และผู้เขียนยังได้ยกตัวอย่างจากคำพิพากษาศาลฎีกามาให้ ท่านอ่านประกอบด้วยครับ
ข้อกำหนดกรมตำรวจ
เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่าง อื่นและเครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 อธิบดีกรม ตำรวจกำหนดเงื่อนไขในการใช้สัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น และ เครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉินโดยออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียง สัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น และเครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2527 4
ข้อ 2 การขออนุญาตติดตั้งใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นให้ เป็นไปตามประกาศของกรมตำรวจ
ข้อ 3 รถที่จะอนุญาตให้ติดตั้งใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น และเครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน จะต้องเป็นรถดังนี้
3.1 รถในราชการทหารหรือตำรวจ
3.2 รถดับเพลิงและรถพยาบาลของทางราชการ
3.3 รถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจ
รถตามข้อ 3.3 จะต้องมีลักษณะตามที่อธิบดีกรมตำรวจได้มีประกาศ
กำหนดไว้
ข้อ 4 รถที่จะใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นจะต้องได้รับ อนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมตำรวจเสียก่อน จึงจะติดตั้งใช้ได้
หนังสืออนุญาตตามความในวรรคก่อนให้เป็นไปตามแบบท้ายข้อกำหนดนี้ และให้มีอายุไม่เกินกว่า 2 ปี นับแต่วันอนุญาต หนังสืออนุญาตดังกล่าวให้เก็บไว้ที่รถเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที
ข้อ 5 ลักษณะของไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น
5.1 ไฟสัญญาณจะต้องติดตั้งบนหลังคาให้เห็นได้ชัดเจน แสงของไฟสัญญาณจะต้องส่องออก ทางด้านหน้ารถกระพริบวับวาบหรือหมุนให้แสงส่องวับวาบโดยรอบรถก็ได้ สีของแสงไฟสัญญาณให้ ใช้ดังนี้
5.1.1 แสงแดง สำหรับรถในราชการทหารหรือตำรวจ และรถดับเพลิง
5.1.2 แสงน้ำเงิน สำหรับรถพยาบาล
5.1.3 แสงเหลือง สำหรับรถอื่น
5.2 เสียงสัญญาณ ให้ใช้ดังนี้
5.2.1 เสียงสัญญาณไซเรน สำหรับรถในราชการทหารหรือตำรวจ รถดับเพลิง และรถอื่น ตามที่อธิบดีกรมตำรวจเห็นสมควร
5.2.2 เสียงสัญญาณหลายเสียง(เสียงสูงต่ำสลับกัน)สำหรับรถพยาบาล
ข้อ 6 เครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน
6.1 รถฉุกเฉินยกเว้นรถในราชการทหารหรือตำรวจ จะต้องมีข้อความว่า `รถฉุกเฉินได้รับอนุญาตแล้ว' เป็นตัวอักษรสีแดงพื้นสีขาว มีขนาดความสูง 10 เซนติเมตร ติดตั้งไว้ที่ด้านข้างรถทั้งสองด้าน
6.2 รถดับเพลิงเอกชน ให้มีข้อความว่า `หน่วยอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย ..... (ชื่อหน่วยงาน) .........' เป็นตัวอักษรสีขาว มีขนาดความสูง 10 เซนติเมตร เหนือข้อความตามข้อ 6.1 5
6.3 รถพยาบาลเอกชน ให้มีข้อความระบุชื่อหน่วยงาน เป็นตัวอักษรสีน้ำเงิน มีขนาดความสูง 10 เซนติเมตร เหนือข้อความตามข้อ 6.1
6.4 รถอื่นปฏิบัติทำนองเดียวกับข้อ 6.3 โดยตัวอักษรเป็นสีขาวอยู่ภายในกรอบพื้นสีเหลือง
6.5 กรณีที่มีเครื่องหมายแสดงสัญลักษณ์ของนิติบุคคลสำหรับหน่วยงานเอกชน ให้ติด เครื่องหมายดังกล่าวไว้ที่ประตูหน้าเท่านั้น
6.6 เฉพาะรถเอกชน นอกจากข้อความและสัญลักษณ์ดังกล่าวข้างต้นห้ามมิให้มีข้อความหรือ สัญลักษณ์อื่นใด
ข้อ 7 การใช้สัญญาณไฟวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น
7.1 การใช้ไฟสัญญาณและเสียงสัญญาณพร้อมกัน ให้ใช้ในกรณีจำเป็นต้องใช้รถเดินทางเพื่อ ปฏิบัติหน้าที่เมื่อมีเหตุฉุกเฉินโดยรีบด่วน หรือเพื่อนำหรือปิดท้ายขบวน ซึ่งจำเป็นต้องอารักขาให้ความ ปลอดภัยเป็นพิเศษ
7.2 การใช้ไฟสัญญาณโดยไม่ใช้เสียงสัญญาณ ให้ใช้ในกรณีจำเป็นต้องเดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่ โดยเร็ว การนำหรือปิดขบวนรถ ขบวนคนเดินเท้าซึ่งอาจกีดขวางการจราจร หรือในกรณีที่หยุดรถ ปฏิบัติหน้าที่เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน หรือกรณีที่จำเป็นเพื่อให้ผู้ใช้ทางทราบและสังเกตเห็นได้ง่าย
7.3 รถอื่นนอกจากรถในราชการทหารหรือตำรวจ รถดับเพลิงรถพยาบาลให้ใช้ไฟสัญญาวับวาบ เพียงอย่างเดียว เว้นแต่อธิบดีกรมตำรวจจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น
7.4 รถโรงเรียน ห้ามมิให้ใช้ไฟสัญญาวับวาบขณะขับรถในทางเว้นแต่ในขณะหยุดรถเพื่อรับส่ง นักเรียนขึ้นหรือลงรถหรือในขณะหยุดรถเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ใช้ทางทราบและสังเกตเห็นได้ง่าย และไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 6
ข้อ 8 การเพิกถอนและการส่งคืนหนังสืออนุญาต
8.1 กรณีผู้รับหนังสืออนุญาต เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
8.1.1 ใช้ไฟสัญญาหรือเสียงสัญญาณโดยไม่มีเหตุอันสมควร
8.1.2 กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 (1) และ (2)
8.1.3 กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป คือ
8.1.3.1 ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 ยกเว้นมาตรา 43 (1) และ (2)
8.1.3.2 ความผิดตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการจราจร
8.1.3.3 ใช้รถที่มีอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กรมตำรวจได้ออกประกาศกำหนดไว้ หรืออยู่ ในสภาพที่ไม่สามารถใช้การได้ดีหรืออาจเกิดอันตราย 6
8.1.4 ใช้ไฟสัญญาณวับวาบหรือเสียงสัญญาณไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตาม เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดหรือประกาศกรมตำรวจ ให้เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงาน สอบสวนจัดทำรายงานแสดงเหตุแห่งพฤติการณ์ของความผิดและผลคดีถึงที่สุด พร้อมความเห็นเสนอ จนถึงอธิบดีกรมตำรวจเพื่อพิจารณาว่ากล่าวตักเตือนหรือเพิกถอนหนังสืออนุญาต
ข้อ 9 เมื่อเปลี่ยนเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถ เปลี่ยนสภาพรถ เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการใช้รถ หรือถูกเพิกถอนหนังสืออนุญาต ให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถ ดำเนินการลบ ข้อความตามข้อ 6 และถอดไฟสัญญาณเสียงสัญญาณที่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้งออกจากรถนั้นทันที แล้ว ให้นำหนังสืออนุญาตดังกล่าวส่งคืนต่อเจ้าพนักงานจราจรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งการ
เพิกถอน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
กำหนด ณ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2536
พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
อธิบดีกรมตำรวจ
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2533
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารแล่นตามกันไปในขบวนซึ่งมีรถวิทยุตำรวจทางหลวงเปิดไฟ สัญญาวับวาบ แล่นนำหน้า เชื่อได้ว่ารถที่จำเลยที่ 1 ขับนั้นแล่นด้วยความเร็วตามอัตราที่กฎหมาย กำหนดและอยู่ในช่อง ทางเดินรถที่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแซงขบวนรถไปอยู่ที่ ไหล่ถนนด้านซ้าย แล้วขับขึ้นจากไหล่ถนนโดย กระชั้นชิด และด้วยความเร็วสูง โดยไม่ระมัดระวัง เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่อาจคาดหมายหรือให้สัญญาณเพื่อให้ใช้ความระมัดระวังอย่างใดได้ทัน เหตุชน กันจึงมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่ถือว่าเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่เพียง ฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2510
จำเลยขับรถยนต์ในราชการตำรวจไปตามถนนโดยใช้สัญญาณไฟแดงกระพริบและแตรไซเรน เพื่อนำคนประสพอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาล การขับรถโดยใช้สัญญาณดังกล่าวมิได้หมายความว่าขับได้ เร็วเท่าใดก็ไม่เป็นการละเมิดหากเกิดการเสียหายขึ้น แต่จะต้องขับด้วยความเร็วไม่สูงเกินกว่าที่ควร 7
กระทำในพฤติการณ์เช่นนั้น และต้องใช้ความระมัดระวังในฐานะที่ต้องใช้ความเร็วสูงกว่าธรรมดาตาม สมควรแก่พฤติการณ์เช่นนั้นด้วย
จำเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบและเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลงเหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดย ไม่หยุด และมีเด็กวิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกมาในระยะกระชั้นชิดซึ่งจำเลยไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จำเลยใช้ในขณะข้ามสะพานไม่เป็นความเร็วที่เกิน สมควรตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อ การที่มีเด็กวิ่ง ตัดหลัง รถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจำเลยในระยะใกล้เป็นเหตุบังเอิญ มิอาจคาดหมายได้ และ เกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกันได้เมื่อจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึง คาดหมายได้จาก บุคคลในฐานะที่ประสบเหตุเช่นนั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้อง รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437