วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

***บทความ..ช่อง CB (CITIZEN BAND)สิ่งที่สมาชิกควรเรียนรู้***

ความถี่ประชาชน หรือ CB (Citizen Band)

ได้โดยเริ่มจากคลื่น 27 เมกะเฮิรตซ์ (MHz.), 78 เมกะเฮิรตซ์, 422 เมกะเฮิรตซ์ และล่าสุด คือ 245 เมกะเฮิรตซ์

วิทยุซีบี 27 เมกะเฮิรตซ์ ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจาก ปัญหาการรบกวนช่องทีวี (3) เดิม แต่ยังใช้ในกิจการประมง
วิทยุซีบี 78 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มีผู้นำเข้ามาจำหน่ายจึง เลือนหายไป
วิทยุซีบี 422 เมกะเฮิรตซ์ ถูกจัดสรรเป็นคลื่นความถี่หอกระจายเสียง

1. วิทยุคลื่นความถี่ประชาชน [Citizen Band]
วิทยุ คลื่นความถี่ประชาชน [Citizen Band]CB 245 MHz. นิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็วเพราะประสิทธิภาพในการส่งกระจายคลื่นได้ไกล รับส่งได้ชัดเจน ละลุทะลวงผ่านกระจกอาคารบ้านเรือนลิฟท์ และชั้นใต้ดิน สามารถปรับกำลังส่งได้ 2-3 ระดับ อาทิ 1 วัตต์ 2.5 วัตต์ และ 5 วัตต์ เป็นต้น

หากติดตั้งสายอากาศสูง 30 เมตรจากพื้นดิน ส่งไกลไม่น้อยกว่า 30 กิโลเมตร นอกนั้นกรมไปรษณีย์อนุญาตให้วิทยุ CB 78 , 245 Mhz ตั้งสถานีในอาคารและติดตั้งสถานีในรถยนต์ โดยมีข้อกำหนดคือ สายอากาศสูงไม่เกิน 60 เมตร

สรุปได้ว่า วิทยุ CB 245 MHz. ใช้งานได้ดีกว่า เพราะประสิทธิภาพส่งได้ไกล ชัดเจนทะลุทะลวงได้ดี ในราคาที่เหมาะสม และ ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้ =โดยถูกต้องตามกฏหมาย การขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุ ทำเพียงครั้งเดียวใช้ได้ตลอดอายุการใช้งานเครื่องนั้นๆ

ข้อกำหนดทาง วิชาการของเครื่องวิทยุคมนาคม สำหรับประชาชน โครงสร้างวิทยุคมนาคม (Case) จะต้องเป็นสีแดง เครื่องวิทยุคมนาคมทำงานเฉพาะในย่านความถี่วิทยุ 245MHz. และมีช่องความถี่วิทยุใช้ จำนวน 80 ช่องหลัก ภาคเครื่องส่ง กำลังส่ง (Power) ไม่เกิน 10 วัตต์

2. การซื้อวิทยุซีบี
การซื้อวิทยุซีบี ติดต่อซื้อเครื่องใหม่จากร้านค้าทั่วไป โดยทุกเครื่องจะต้องขอ "ใบอนุญาต มีและใช้" จากกรมไปรษณีย์โทรเลข ยกเว้น เครื่องที่มีกำลังส่งไม่เกิน 500 มิลลิวัตต์ ไม่ต้องดำเนินการขอใบอนุญาต มีและใช้ เมื่อท่านซื้อเครื่องมาใช้งาน สามารถตั้งสัญญาณเรียกขานตามใจชอบ (ควรมีจิตสำนึกในการตั้งด้วย)

3. การใช้วิทยุซีบี
การใช้วิทยุซี บีเนื่องจาก ประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานได้ อย่างอิสระ รวมไปถึงกลุ่มธรุกิจ ต่างๆที่นำไปใช้ในการประสานงาน ทำให้ช่องความถี่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ต้องแบ่งกันใช้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของช่องความถี่ ไม่มีความเป็นส่วนตัว ขับไล่ผู้อื่นออกจากช่องที่ตนเองใช้งานไม่ได้ แย่งช่องสื่อสารที่กำลังมีผู้ใช้งานอยู่ก็ไม่ได้ ให้ใช้ช่องความถี่ที่ว่างอยู่ ถ้าไม่มีช่องว่าง ให้รอจนกว่าผู้ใช้ความถี่เดิมจะเสร็จธุระ นี่คือมารยาทบนความถี่ จะช่วยให้สังคม CB245Mhz ดีขึ้น

4. การติดตั้งสายอากาศที่บ้าน หรือที่รถยนต์
การติดตั้งสายอากาศที่บ้าน หรือที่รถยนต์เรียกเป็นภษากฏหมายว่า การตั้งสถานี จะต้องขอ "ใบอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม" ขอครั้งเดียวใช้ได้ตลอด จนกว่าจะย้ายบ้าน หรือเปลี่ยนรถ ใบอนุญาตตั้งสถานี ใช้ใบเดียวต่อหนึ่งสถานที่ตั้ง จะมีสายอากาศกี่ต้นก็ได้ เครื่องวิทยุสื่อสารกี่เครื่องก็ได้ แต่ทุกเครื่องต่อมีใบอนุญาตมีและใช้

5. การเลือกซื้อเครื่องวิทยุ CB245MHz
การเลือกซื้อเครื่องวิทยุ CB245MHzเครื่อง แฮนดี้ (มือถือ) ขั้นแรกต้องดูความเหมาะสม ในการนำไปใช้งาน ของกิจการ หรือกิจกรรมต่างๆ เช่น ขนาด กำลังส่ง แบตเตอรี่ เป็นต้น เช่นใช้งาน บริเวณ สนามฟุตบอล อาจใช้เครื่อง มีกำลังส่งต่ำ 0.5W มีขนาดเล็ก (ไม่ต้องขอใบอนุญาต) หากใช้งานสมบุกสมบัน อาจต้องใช้ เครื่องที่มีกำลังส่ง 5W (ต้องขอใบอนุญาต) และแบตเตอรี่ ให้เพียงพอต่อการใช้งานนั้น ๆ

6 การขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุ CB245MHz
การขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุ CB245MHzสำเนาบัตรประชนชน 1 ฉบับ
ค่าธรรมเนียม 535 บาท

7. การขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุ CB245MHz ที่บ้าน (หมดอายุเมื่อย้ายบ้าน)
การขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุ CB245MHz ที่บ้าน (หมดอายุเมื่อย้ายบ้าน)สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ (กรณีมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
สำเนาบัตรประชนชน 1 ฉบับ
สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ (กรณี ไม่มีชื่อ ในทะเบียนบ้าน)
สำเนาบัตรประชนชน 1 ฉบับ
หนังสือยืนยอมให้ตั้งสถานี 1 ฉบับ
ค่าธรรมเนียม 535 บาท สำหรับกำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์
ค่าธรรมเนียม 1070 บาท สำหรับกำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์

8. การขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุ CB245MHz ในรถยนต์ (หมดอายุเมื่อเปลี่ยนรถยนต์)
การขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุ CB245MHz ในรถยนต์ (หมดอายุเมื่อเปลี่ยนรถยนต์)สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ (กรณีเป็นเจ้าของรถยนต์)
สำเนาบัตรประชนชน 1 ฉบับ
สำเนาทะเบียนยานพาหนะ 1 ฉบับ
สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ (กรณี ไม่ใช่ เจ้าของรถยนต์)
สำเนาบัตรประชนชน 1 ฉบับ
สำเนาทะเบียนยานพาหนะ 1 ฉบับ
หนังสือยืนยอมให้ตั้งสถานี 1 ฉบับ
ค่าธรรมเนียม 535 บาท สำหรับกำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์
ค่าธรรมเนียม 1070 บาท สำหรับกำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์

9. การติดตั้งสายอากาศที่บ้าน หรือที่รถยนต์
การติดตั้งสายอากาศที่บ้าน หรือที่รถยนต์เรียกเป็นภษากฏหมายว่า การตั้งสถานี จะต้องขอ "ใบอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม" ขอครั้งเดียวใช้ได้ตลอด จนกว่าจะย้ายบ้าน หรือเปลี่ยนรถ ใบอนุญาตตั้งสถานี ใช้ใบเดียวต่อหนึ่งสถานที่ตั้ง จะมีสายอากาศกี่ต้นก็ได้ เครื่องวิทยุสื่อสารกี่เครื่องก็ได้ แต่ทุกเครื่องต่อมีใบอนุญาตมีและใช้

10. ข้อแนะนำการใช้วิทยุสื่อสาร สำหรับประชาชน
ข้อแนะนำการใช้วิทยุสื่อสาร สำหรับประชาชนกรมไปรษณีย์โทรเลขได้จัดสรรความถี่ 245 MHz ให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ได้โดยอิสระ ไม่ต้องสอบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน และอนุญาตให้เพิ่มประสิทธิภาพของการติดต่อโดยการตั้งสถานีได้ (ตั้งเสาสูง) ทำให้ประชาชนสนใจเข้ามาใช้ความถี่นี้เป็นจำนวนมาก ทั้งการใช้งานอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม งานธุรกิจ และประสานงานทั่วไป

นอกจากนี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีการใช้โทน โค้ดสเควลช์ CTCSS DTS ในการแบ่งช่องย่อย ในขณะเดียวกัน ประชาชนผู้ใช้งานส่วนมากไม่มีความรู้พื้นฐานการใช้วิทยุสื่อสารเลย ไม่ว่าในด้านช่างหรือการแบ่งปันการใช้งาน บางครั้งเกิดปัญหาความไม่เข้าใจในการใช้งานร่วมกัน

ในอเมริกา ความถี่ 27 MHz เป็นความถี่ที่จัดสรรให้กับกิจการวิทยุซีบี โดยให้ใช้เครื่องที่มี 40 ช่อง ความถี่ 26.965-27.405 MHz สำหรับใช้สื่อสารส่วนตัวหรือธุรกิจ สองทาง ด้วยเสียงพูด ระยะใกล้กำลังส่ง 12 วัตต์ PEP สำหรับ Single Side Band และให้ตั้งสายอากาศสูงไม่เกิน 6 เมตร จากหลังคาอาคาร แต่ต้องไม่เกิน 18 เมตร จากพื้นดิน อนุญาตให้ใช้ตามครอบครัวทั่วไป ขอความช่วยเหลือและในกิจการ อปพร. ฯลฯ อนุญาตให้ใช้โทนเพื่อเรียกขานได้ไม่เกิน 15 วินาที อนุญาตให้ติดต่อได้ในระยะไม่เกิน 245 กิโลเมตรและต่อ “Phone Patch” เพื่อใช้เป็นโทรศัพท์ได้

ถ้ามีผู้แนะนำที่มีความเข้าใจคอยเฝ้าฟังและสามารถตัดการสนทนาได้ถ้ามีข้อความต้องห้าม ซึ่งมีดังนี้

1.ข้อความผิดกฎหมาย
2.วาจาหยาบคาย
3.พฤติกรรมรบกวนผู้ใช้ซีบีอื่นๆ
4.โฆษณาสินค้า หรือโฆษณากิจการเพื่อการค้า
5.เสียงเพลง ผิวปาก หรือซาวนด์เอฟเฟคต่างๆ
6.สัญญาณ May Day (ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน) เว้นแต่มีเหตุฉุกเฉินจริงๆ
7.หาเสียงให้ผู้สมัครของพรรคการเมืองต่างๆ
8.ติดต่อกับนักวิทยุอื่นๆ ที่ไม่ใช่ซีบี
9.จัด รายการสด หรือถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงที่มีการค้ากำไร หรือจากสถานีโทรทัศน์สำหรับบ้านเรา นอกจากห้ามการรับส่งต่างความถี่และห้ามใช้สถานีทวนสัญญาณแล้ว ก็ยังไม่มีข้อกำหนด ระเบียบ หรือข้อห้ามใดๆ ที่ชัดเจนจากกรมไปรษณีย์โทรเลข นอกจากห้ามใช้รีพีทเตอร์ในกิจการนี้เท่านั้น
เอกสารนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างผู้ใช้วิทยุสื่อสารความถี่ประชาชน ความถี่ 78 และ 245 MHz


11. สิ่งที่ผู้ใช้วิทยุซีบีจะต้องรู้ สิ่งที่ผู้ใช้วิทยุซีบีจะต้องรู้
1. เมื่อซื้อวิทยุซีบีแล้ว จะต้องขอใบอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข เรียกว่า “ใบอนุญาต” ค่าใบอนุญาตเครื่องละ 500 บาท ใช้ได้ตลอดอายุของเครื่อง หลักฐานในการขอใบอนุญาตคือสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน

2. หากต้องการตั้งเสาสูง ติดสายอากาศเพื่อให้ส่งได้ไกลหรือติดสายอากาศรถยนต์ จะต้องขอใบอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข เรียกว่า “ใบอนุญาตตั้งสถานี” ค่าใบอนุญาต 1,000 บาท ต่อ1 บ้าน หรือ รถ 1 คัน ใช้ได้จนกว่าจะเปลี่ยนรถหรือย้ายบ้าน ซึ่งต้องขออนุญาตใหม่ หลักฐานในการขอใบอนุญาตคือ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนรถ หรือ สำเนาทะเบียนบ้านและแผนที่บ้านคร่าวๆ ถ้าชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนรถไม่ใช่ของผู้ขอ ต้องมีใบยินยอมจากผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของ

3. ห้ามใช้เครื่องขยายกำลังส่ง หรือ เพิ่มกำลังส่ง หรือ “บูสเตอร์” เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังก่อให้เกิดการรบกวนอย่างแรง เพราะมีการซอยออกเป็น 80 ช่อง โดยขนาดของช่องเล็กมาก หากใช้กำลังส่งสูงเกินไปจะทะลุข้ามช่อง

4. ห้ามใช้การรับส่งต่างความถี่ (Duplex) และห้ามใช้สถานีทวนสัญญาณ (Repeater)

5. ทางราชการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุซีบี 78 และ 245 MHz เพื่อความสะดวกของประชาชนทั่วไป โดยจัดระดับความสำคัญไว้เป็นอันดับสอง ดังนั้น

5.1 รัฐไม่คุ้มครองการรบกวน หมายความว่าหากมีปัญหาในการใช้งานหรือเกิดการรบกวนในความถี่ ประชาชนจะต้องดำเนินการหาวิธีแก้ไขเอง แต่ถ้าการใช้วิทยุซีบีก่อให้เกิดการรบกวนต่อข่ายงานอื่น รัฐมีสิทธิ์สั่งให้แก้ไขการรบกวนนั้น ถ้าแก้ไขไม่ได้รัฐมีสิทธิ์สั่งยกเลิกการอนุญาตให้ใช้วิทยุซีบี สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ใช้วิทยุสื่อสารซีบีทุกคน จะต้องมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม โดยทำตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด ต้องช่วยกันระมัดระวังในการใช้ความถี่ เพื่อให้ความถี่นี้อยู่ให้เราได้ใช้นานๆ และให้เกิดประโยชน์ต่อทุกคนอย่างเสมอภาคกัน

5.2 ทุกคนมีสิทธิ์เท่าๆ กันในการใช้งานทุกช่องความถี่ ไม่มีใครมีสิทธิ์ยึดช่องใดช่องหนึ่งเป็นของตัวเอง ไม่ว่าเราเป็นใคร ใหญ่โตขนาดไหน ก็ไม่มีสิทธิ์ไล่ผู้ที่เข้ามาใช้ความถี่ร่วมในช่องนั้น ดังนั้น ทุกคนจะต้องใช้หลักถ้อยทีถ้อยอาศัย แบ่งกันใช้ หากความถี่ไม่ว่าง ให้รอหรือเปลี่ยนใช้ช่องอื่นที่ว่าง หรือหากในช่องนั้นกำลังมีการประสานงานอยู่ ก็ไม่ควรเข้าไปขัดจังหวะ

5.3 ความถี่นี้ทางราชการไม่ได้ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชน เพียงแต่อนุญาตให้ใช้ในขณะนี้ หากมีความจำเป็นทางราชการอาจะเรียกคืน เพื่อจัดสรรให้กับหน่วยงานที่มีความจำเป็น ผู้ใช้ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ หรือเรียกร้องขอค่าชดเชยความเสียหายจากอุปกรณ์ที่ได้ลงทุนไป

6. การทำผิดกฎหมายวิทยุสื่อสารมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุก 5 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

7. การใช้ช่องย่อย (DTMF CTCSS DTS ฯลฯ) เพื่อติดต่อเฉพาะกลุ่มนั้น ไม่ใช่เป็นการเก็บความลับ กลุ่มผู้ใช้ที่เข้ารหัสช่องย่อยนั้นจะไม่ได้ยินคนอื่น เหมือนกับการปิดหูตัวเองไว้ เปิดช่องให้ฟังเฉพาะพวกเดียวกัน แต่ผู้ที่ไม่ได้เข้ารหัสช่องย่อยไว้ก็จะสามารถได้ยินทุกคนที่ใช้ความถี่นั้น รวมทั้งได้ยินผู้ที่ใช้ช่องย่อยด้วย

หากมีการใช้ช่องย่อยในความถี่ ใด ก็จะรบกวนผู้อื่นที่ไม่ได้ใช้ช่องย่อยโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าทุกคนในความถี่ช่องนั้นใช้ช่องย่อยทั้งหมด จะไม่เกิดการรบกวนกันเลย ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดช่วงความถี่เพื่อการใช้ช่องย่อยโดยเฉพาะ

หวังว่าสมาชิกทุกท่านจะได้นำไปใช้ ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ
ว.61 ว.73 ทุกสถานีครับผม
....เวหานิปปอน 10.20น.(23/08/11)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น